6.26.2009

NAT : Network Address Translation

NAT : Network Address Translation

การสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะมีการกำหนด IP Address ซึ่งเป็นหมายเลขที่ใช้สำหรับระบุตัวตนของผู้ใช้งาน (หมายเลข IP จะเป็นกลุ่มเลข 4 ชุด เช่น 202.153.148.21 เป็นต้น) ซึ่งแต่ละคนจะมีหมายเลข IP Address ไม่ซ้ำกัน อย่างไรก็ตามโดยปกติ IP Address ของคุณที่ได้รับเวลาเล่น internet ผ่านทาง ISP จะได้รับเป็นหมายเลขแบบสุ่ม

ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Internet มากมาย ทำให้ IP Address ที่แจกจ่ายให้นั้น ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหา IP ไม่เพียงพอ สามารถทำได้โดยใช้วิธีการทำ Network Addrsss Translation (NAT) หรือการสร้างตารางการจับคู่ของ IP แบบสุ่ม (ตัวอย่าง : สมมุติว่าองค์กรมีคอมพิวเตอร์ 50 เครื่องที่ต้องการเล่น internet และมี Registered IP จาก ISP 2 หมายเลข การทำ NAT แบบสุ่ม จะมีการตรวจสอบว่า IP ใดว่างก็จะมีการใช้ IP นั้นๆ) สำหรับอุปกรณ์สำหรับทำ NAT สามารถทำได้จากอุปกรณ์ที่เรียกว่า Router หรือ Firewall

หลักการทำงานของ NAT

โดยทั่วไปในระบบเครือข่ายภายในองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มี Server เป็น Windows NT, 2000 s erver จะมีการกำหนด IP ภายในองค์กรที่เรียกว่า private IP เช่น 192.168.0.1 หรือ 10.0.0.1 เป็นต้น IP เหล่านี้จะเป็น IP จะไม่สามารถนำไปใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ตได้ การทำ NAT จะเป็นการแปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ หรือที่เราเรียกว่า Registered IP เรื่องน่ารู้ เพิ่มเติม เกี่ยวกับ NAPTจากรายละเอียดข้างต้น ยังไม่สามารถอธิบายความสามารถของการทำ NAT ได้ ดังนั้นขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NAPT : Network Address Port Translation โดยรายละเอียดแล้ว การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้ช่องทางสื่อสาร TCP/IP จะประกอบด้วย

1.Source IP Addrsss
2.Source Port
3.Destination IP Addrss
4.Destination Port

ซึ่งทั้งหมดนี้ รวมเรียกว่า Socket และตัว Socket นี้เองจะเป็นตัวกำหนดว่าการสื่อสารนั้นยังคงดำเนินการต่ออยู่หรือไม่ และเนื่องจากจำนวน port ใน Firewall จะมีจำนวน ports ถึง 65,535 (สำหรับ server 1024 ports) ดังนั้นจะมี ports คงเหลือ 64,511 ทำให้เราสามารถต่ออินเตอร์เน็ตภายในองค์กร โดยใช้ Registred IP เพียงไม่กี่หมายเลข และนี่คือความสามารถพิเศษในการใช้งานในส่วนของ NAPT นั่นเอง

ที่มา : it-guides.com

6.24.2009

ทำความรู้จัก Zoning

ทำความรู้จัก Zoning

ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ถ้ามีการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ทั้งภายในและภายนอก ผลพวงที่ได้รับอาจเกิดปัญหาในเรื่องการไวรัส และที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งการถูกเจาะระบบโดยผู้ไม่ประสงค์ดี อย่างไรก็ตามการติดต่อสื่อสารก็ยังจำเป็นจะต้องเกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีการป้องกัน และมีการจัดแบ่งระบบเครือข่ายของเราเป็นโซน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการควบคุมและจัดการ โดยเฉพาะการติดตั้งระบบ Firewall ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในข้อมูล และปลอดภัยใน

ระบบเครือข่ายของเรา

ประเภทของ Zoning แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
Internal Zone หมายถึง ระบบเครือข่ายภายในองค์กรของเรา ซึ่งถือว่าเป็น zone ที่มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือสูงสุด

External Zone หมายถึง ระบบเครือข่ายภายนอก ซึ่งถือว่าเป็น zone ที่มีความปลอดภัยต่ำมาก (ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า เครือข่ายนอกองค์ของเรานั้น จะเป็นเครือข่ายที่ไม่น่าเชือถือ) อย่างไรก็ตามเนื่องเราอาจจำเป็นต้องมีการติดต่อกับเครือข่ายภายนอก ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องมีการควบคุมในเรื่องของการสื่อสาร ตัวอย่าง External Zone เช่น คอมพิวเตอร์ต่างๆ ภายนอกองค์กร รวมทั้งระบบเครือข่าย internet ที่เราติดต่ออยู่ด้วย เป็นต้น

Demilitarized Zone (DMZ) เป็น Zone พิเศษที่ไม่ใช่ทั้ง Internal Zone และ External Zone การทำงานของ DMZ นั้น จะติดต่อโดยตรงทั้ง Internal และ External Zone ตัวอย่างของ DMZ เช่น Mail server, Web server เป็นต้น

6.22.2009

ประเภทของ Firewall

ประเภทของ Firewall

เราสามารถแบ่งประเภทของ Firewall ได้ 2 ประเภทคือ

Hardware Firewall เป็น Firewall ที่มีลักษณะเป็นกล่อง คล้ายเคสคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน มีการสร้าง Firewall และรวมเอาความสามารถในการป้องกันไวรัสไว้ในตัวเดียวกัน เช่น Symantec Gateway Security ซึ่งเป็นของบริษัท Symantec ผู้ผลิตซอร์ฟแวร์ Norton Anti-virus ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดบริษัทหนึ่ง เป็นต้น

Software Firewall เป็น Firewall ที่มีการติดตั้งซอร์ฟแวร์ Firewall ในคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server ปัจจุบันมีซอร์ฟแวร์ Firewall หลายค่าย รวมทั้งของค่ายไมโครซอร์ฟก็มี เช่น Microsoft Internet Security and Acceleration Server หรือ เรียกสั้นๆว่า ISA ส่วนค่ายอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมเช่น Firewall-1 ของบริษัท Check Point Software Technologies Ltd. ข้อมูลเพิ่มเติม Firewall-1 เป็นต้น

6.19.2009

Firewall คืออะไร

Firewall คืออะไร

ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง

การป้องกันการเข้าถึงระบบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
Logical Access หมายถึง การเข้าถึงผ่านระบบ Network เช่น ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
Physical Access หมายถึง การเข้าถึงในลักษณะถึงตัวเครื่องจริงๆ พูดง่ายๆ คือ การเข้าถึงในลักษณะเดินเข้ามาใช้งาน หรือลักลอบเข้ามาใช้งานถึงตัวเครื่องคอมฯ ในระบบ Network นั้นๆ

คุณสมบัติของ Firewall

ProtectFirewall เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกัน โดยข้อมูลที่มีการรับหรือส่งผ่านระบบเครือข่าย โดยจะถูกกำหนดเป็นกฏเกณฑ์ หรือ Rule เพื่อใช้บังคับในการสื่อสารภายในเครือข่าย (ข้อมูลที่มีการรับส่งภายใน หรือภายนอกระบบเครือข่าย เราเรียกว่า Package)

Rule Base ข้อกำหนดในการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูลภายในระบบเครือข่าย ดังนั้น การติดตั้ง Firewall จะต้องมีการกำหนดกฏเกณฑ์ ในการควบคุมการทำงานในระบบเครือข่าย

Access Controlหมายถึง การควบคุมระดับการเข้าถึง การรับ-ส่งข้อมูล

ทำไมต้องติดตั้ง Firewallเดิมการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะเป็นการใช้งานส่วนบุคคล ดังนั้น ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานจึงมีไม่มากนัก

ต่อมาเมื่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลายมาก ทุกองค์กร ทุกธุรกิจมีการใช้งานอินเตอร์เน็ต อย่างน้อยก็ใช้งาน อีเมล์ในการรับส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ ดังนั้น ผลพวงที่ตามมาคือ เกิดผู้ไม่ประสงค์ดี หาวิธีการในการลักลอบเข้าดูในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เพื่อค้นหาข้อมูล หรือต้องการทดสอบความสามารถของตนเอง ตลอดจน ไวรัสคอมพิวเตอร์ ก็ได้อาศัยช่องทางของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นช่องทางในการแพร่กระจายไวรัส

6.18.2009

Protocol คืออะไร

Protocol คืออะไร

โปรโตคอล คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล ให้สามารถสื่อสารข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง สำหรับโปรโตคอลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกคือ TCP/IP สำหรับโปรโตคอลอื่นๆ อีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX โปรโตคอล NetBIOS และโปรโตคอล AppleTalk เป็นต้น
โปรโตคอล TCP/IPTransmission Control Protocol / Internet Protocol เป็นเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP


โปรโตคอล IPX/SPX พัฒนาโดยบริษัท Novell ซึ่งเป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัตการเครือข่าย Netware ที่นิยมมากตัวหนึ่งของโลก โปรโตคอล IPX/SPX แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ IPX (Internetwok Packet Exchange) และ SPX (Sequenced Packet Exchange)

โปรโตคอล NetBIOSNetwork Basic Input/Output System ความจริงแล้ว NetBIOS ไม่ใช่โปรโตคอล แต่ที่จริงเป็น ไลบรารีของกลุ่มคำสั่งระบบเครือข่าย หรือ API (Application Programming Interfac) การใช้งาน NetBIOS จะใช้ในลักษณะของกลุ่มคอมพิวเตอร์ในระบบปฏิบัติการ Windows หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า workgroup

โปรโตคอล AppleTalk พัฒนาโดยบริษัท Apple Computer เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Macintosh โดยเฉพาะ นอกจากนี้ Apple ยังได้มีการพัฒนาโปรโตคอลเพิ่ม เพื่อใช้เชื่อมกับระบบเครือข่ายแบบ Ethernet และ Token Ring โดยตั้งชื่อว่า Ether Talk และ TokenTalk เป็นต้น

6.16.2009

Wireless LAN

Wireless LAN

ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN หรืออาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น

หลักการทำงานของระบบ Wireless LANการทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน) ระยะทางการ

เชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN

ภายในอาคาร
-ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
-ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
-ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
-ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps

ภายนอกอาคาร
-ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
-ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
-ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps


ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN
-สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง
-ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล
-ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
-สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด ปัจจุบันระบบ Wireless LAN เริ่มเป็นที่นิยมใช้งานกันมากแล้ว


สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับมาตราฐานของระบบ Wireless LAN สามารถหาอ่านได้จากหัวข้อถัดไป

6.15.2009

Peer to Peerเครือข่ายขนาดจิ๋ว

Peer to Peer ครือข่ายขนาดจิ๋ว

Home, Small Office Network การจัดทำระบบเครือข่ายในปัจจุบัน ไม่ถือว่าเป็นเรื่องยากแล้ว เนื่องด้วยอุปกรณ์และโปรแกรมก็สามารถจัดหาได้ไม่ยาก ราคาก็ไม่แพง แถมการใช้งานในระบบเครือข่ายก็สามารถช่วยในการประหยัดได้มากทีเดียว (ถ้าคุณมีคอมพิวเตอร์ใช้งานมากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไป) ถ้าสนใจละก็ลองมาศึกษากันดู เพียงไม่กี่ขั้นตอนคุณก็สามารถทำอะไรได้มากกว่าที่คิด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Network
สำหรับในส่วนนี้จะขอแนะนำการสร้าง Home Network, Small office Network เป็น Network แบบ peer to peer สำหรับใช้ในธุรกิจที่มีจำนวนเครืองคอมพิวเตอร์ไม่มาก (ไม่ควรเกิน 10 เครื่อง)

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย แบบ Peer to Peer
-ติดตั้งง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย เมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่น ๆ
-ไม่จำเป็นต้องมีการดูแล หรือผู้ชำนาญการสูง
-สามารถดูข้อมูล แลกเปลี่ยนและแชร์การใช้อินเตอร์เน็ตร่วมกันได้
-สามารถแชร์เครื่องพิมพ์ CD-ROM ร่วมกันได้ด้วย
-ไม่จำเป็นต้องมี Server (คอมพิวเตอร์แม่) อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย และราคา

HUB คืออุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ (เลือก Hub ที่ความเร็ว 10 Mbps ก็พอ) หรือข้อมูล โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports เป็นต้น ราคาจะขึ้นกับยี่ห้อตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่น

LAN Card คือ Card ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เท่ากับ VGA Card หรือ Sound Card สำหรับ Lan Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ต้องการ เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mpbs เป็นต้น ราคาถูกตั้งแต่หลักร้อยขึ้นไป

Network Cable คือสายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์ ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTB, STB ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำไปใช้ เช่น ติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน เป็นต้น ส่วนเรื่องราคาจะขายกันเป็นเมตร สามารถสั่งซื้อสำหรับรูปจากร้านคอมพิวเตอร์ได้ ถ้าต่อไม่ไกลใช้ประมาณ 1- 2 เมตรก็ได้ ราคาประมาณ 2-3 ร้อยบาท (บอกทางร้านให้เข้าหัวที่เป็น RJ45 หัวและท้ายด้วย) สำหรับยี่ห้อที่แนะนำคือ AMP หมายเหตุ RJ45 คือหัวที่ใช้ต่อกับ Network Cable มีลักษณะเหมือนหัวโทรศัพท์ตามบ้านทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า ขั้นตอนการติดตั้ง Home Network, Office Network

6.12.2009

Basic Network พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่าย

Basic Network พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายในปัจจุบันมีการแบ่งออกได้หลายระบบ สำหรับระบบที่เป็นเครือข่ายที่ใกล้ตัวเรา และนิยมใช้ในองค์กรธุรกิจ ตั้งแต่ขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง จะเป็นระบบเครือข่ายแบบ แลน LAN (Local Area Network) ณ ที่นี้จะขอแนะนำเฉพาะอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย แลน ดังนี้อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
H U B หรือ Repeater อุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ หรือข้อมูล จะต้องใช้ไฟหล่อเลี้ยงในการทำงาน โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports รวมทั้ง 48 ports เป็นต้น จำนวน port หมายถึง จำนวนในการเชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น Hub 24 ports หมายถึง สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าด้วยกัน จำนวน 24 เครื่อง


Network Interface Card (NIC)บางคนอาจเรียกสั้น ๆ ว่า LAN Card หมายถึง Card ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เท่ากับ VGA Card หรือ Sound Card สำหรับ Lan Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ต้องการ เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mpbs เป็นต้น

Network Cable สายสัญญาณที่มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์ ที่นิยมใช้มีดังนี้ UTB, STB ซึ่งการเลือกสายแต่ละประเภทนี้จะขึ้นกับการนำไปใช้ เช่น ติดตั้งภายใน ภายนอก หรือระยะทางไกลแค่ไหน เป็นต้น (UTP สามารถติดตั้งได้ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร)นอกจากอุปกรณ์พื้นฐานข้างต้นแล้ว ยังมีอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายอื่นๆ อีกที่น่าสนใจดังนี้

Switch หรือ Bridge เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นประเภทเดียวกันและโปรโตคอลเหมือนกันเท่านั้น ความสามารถที่ต่างจาก Hub คือสามารถตรวจสอบความผิดพลาดได้ด้วย ส่วนวิธีการติดตั้งจะไม่แตกต่างจาก Hub

Routerเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน คล้ายกับ Switch แต่ Router สามารถเชื่อมต่อโปรโตคอลเหมือนกัน แต่ media ต่างกัน (หมายถึง ระบบสายเคเบิลต่างกัน)

Gateway เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยใช้โปรโตคอลต่างกัน รวมทั้งการใช้ media ต่างกัน โดยจะทำหน้าที่แปลงโปรโตคอลให้ตรงกับปลายทาง อุปกรณ์ Gateway เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงและติดตั้งค่อนข้างยาก

6.11.2009

การเชื่อมต่อเครือข่าย

การเชื่อมต่อเครือข่าย

ประเภทของการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่าย มีหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน Bus Topologyเป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบหนึ่ง ด้วยสายเคเบิลยาวมาเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ โดยใช้ คอนเน็ตเตอร์ในการเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า T-connector และมี Terminator เป็นตัวปิดปลายสายสัญญาณ รูปแบบการส่งข้อมูลจะมีการส่งข้อมูลทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง โดยมีเครื่องปลายทางจะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา

Ring Topology เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบหนึ่ง เราสามารถเรียกได้อีกชื่อว่า Token Ring โดยจะต่อเข้ากันเป็นลักษณะวงกลม ถือได้ว่าเป็นการต่อแบบระบบปิด การทำงานจะมีการส่งผ่าน (Token) จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในเครือข่าย ปัญหาของการต่อแบบนี้คือ ถ้าจุดใดมีปัญหาจะทำให้ทั้งระบบมีปัญหาตามไปด้วย

Star Topology เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากปัญหาของระบบ Bus และ Ring ที่ว่า ถ้าเคเบิลหนึ่งมีปัญหาก็จะทำให้ระบบมีปัญหาทั้งหมด แต่สำหรับระบบ Star จะแก้ปัญหาของทั้ง 2 ระบบที่กล่าวมาคือ ถ้ามีปัญหาเคเบิลเส้นใด จะเสียเพียงจุดๆ เดียวเท่านั้น นอกจากนี้การแก้ไข ตรวจสอบระบบในเครือข่ายแบบ Star ก็ทำได้ง่ายกว่าทั้ง 2 ระบบที่กล่าวข้างต้นอีกด้วย

6.09.2009

Basic Network พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่าย

Basic Network พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่าย

เชื่อว่าทุก ๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบเครือข่าย หรือ Network มาบ้างแล้ว เพราะจริง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ก็มีการติดต่อสื่อสารถึงกัน โดยใช้ระบบเครือข่าย เช่น การโทรศัพท์พูดคุยกัน, การดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่การเบิก ถอนเงิน กับธนาคารด้วยเครื่องถอนเงินอัตโนมติ ATM และที่คุณกำลังอ่านข้อมูลผ่านทาง internet อยู่นี้ นั่นคือ คุณกำลังใช้งานในระบบเครือข่ายอยู่เหมือนกัน เราถือว่า internet เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่มากที่สุดในโลก... สิ่งเหล่านี้พอจะทำให้คุณเข้าใจบ้างไหมว่า


ระบบเครือข่ายมีประโยชน์มากมายเพียงใด?

ประเภทของคอมพิวเตอร์

Main Frame ถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด มีราคาสูงมาก มักใช้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น การดูแลจำเป็นจะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ
Mini Computer or LAN คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดกลาง ถึงขนาดเล็ก การลงทุนไม่สูงมากนัก ถือได้ว่าคอมพิวเตอร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในธุรกิจ SME
Personnel Computerคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครือข่าย LAN กับ WAN

Local Area Network (LAN) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับท้องถิ่น เช่นภายในตึกเดียวกัน

Wide Area Network (WAN) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล เช่นระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ สำหรับระบบเครือข่าย หรือ Network ที่จะกล่าวต่อไป จะเน้นในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง หรือ LAN (Local Area Network)

Network System - ระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่าย คือ การนำคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาต่อพ่วงกัน เพื่อใช้ในการสื่อสารถึงกัน ใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้ง ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการใช้งาน เช่น printer, harddisk เป็นต้น ระบบเครือข่าย ที่เป็นที่นิยมได้แก่ ระบบแลน (LAN : Local Area Network)

Peer to Peer ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUBข้อดีของการต่อแบบ Peer to Peer
ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อ Network แบบอื่น ๆ


สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้


ง่ายในการติดตั้ง และสามารถขยายต่อไปในอนาคตได้ดี
Client / Server ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่ายคือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้น

ข้อดีของการต่อแบบ Client / Server
-สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
-มีระบบ Security ที่ดีมาก
-รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี
-สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง